วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2554


..วันนี้อาจารย์สรุปสิ่งที่ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ความหมาย
2.สื่อวิทยาศาสตร์
3.ของเล่นวิทยาศาสตร์
4.ทักษะวิทยาศาสตร์
5.การเขียนแผน
6.การเรียนรู้ของเด็ก
7.การทำโครงการ
8.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
9.การจัดนิทรรศการ
10.การเรียนแบบโครงการ
11.หลักการจัดประสบการณ์วิทยาสาสตร์

การประเมินพัฒนาการเด็ก
.การสังเกต
.สนทนาซักถาม
.ผลงานเด็ก

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 20กันยายน 2554

..การเรียนการสอน..

.อาจารย์เปิดดู Bloggr และตรวจดู Bloggr ของนักศึกษาและก็ให้นักศึกษาไปแก้ไขเพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่
.อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนก
3.ทักษะการแสดงปริมาณ
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการแสดงความคิดเห็น
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
.อาจารย์ตรวจดูแผนเดี่ยวของนักศึกษา และให้ไปแก้ไขปรับปรุงมา และส่งในสัปดาห์ต่อไป

แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกลักษณะของไข่
2.เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3.เด็กสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟองได้

ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสามารถบอกรูปร่าง ลักษณะของไข่
2.เด็กสามารถเล่าประสบการณ์เดิมของตนเองเกี่ยวกับไข่ได้
สาระที่ควรเรียนรู้
รูปร่างลักษณะของไข่จะมีความแตกต่างกัน เช่น ไข่ไก่ จะมีผิวสีเหลือง ไข่เป็ดจะมีผิวสีขาว
ส่วนไข่นกกระทาจะมีขนาดเล็กและมีผิวขรุขระ

กิจกรรม
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันเล่นเกม ไข่นั่ง ไข่ยืน โดยครูสั่งคำว่า ไข่นั่งหรือไข่ยืนให้ทำตามแต่ถ้าไม่พูดก็ไม่ต้องทำตาม

ขั้นสอน
1.ครูนำไข่จริงมาสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
“เด็กๆ รู้จักไข่อะไรบ้าง”
“ไข่ที่เด็กๆ รู้จักมีลักษณะอย่างไร”
“ไข่ที่ครูนำมาเหมือนหรือต่างอย่างไร”
2.ครูปอกไข่ให้เด็กดูมี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงรูปร่างลักษณะของไข่

สื่อการเรียน
ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา

ประเมินผล
1. สังเกตการบอกลักษณะของไข่
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟอง

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2554

วันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนกลุ่ม โดย กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน เรื่องหน่วยเรื่องไข่ และอาจารย์ถามว่าเรื่องที่เราเอามานั้นเอามาจากไหน หัวข้อเรื่องที่เราจะนำมาสอนเราก็ต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
3.บุคคลและสถานที่
4.ธรรมชาติรอบตัว
และในแผนการสอนมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่เด็กต้องเรียนรู้ สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ มีดังนี้
1.วัตถุประสงค์
2.สาระการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย
-ประสบการณ์สำคัญ
-สาระที่ควรเรียนรู้
4.กิจกรรมการสอน
-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
สมรรถณะของเด็กประกอบไปด้วย
1.ด้านร่างกาย เช่น การปีนป่าย กิจกรรมการเคลื่อนไหว
2.อารมณ์/จิตใจ : แสดงความรู้สึก รับรู้ การกระทำ
3.สังคม เช่น การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น แบ่งปัน
4.ภาษา เช่น การพูด การสื่อสาร
5.วิทยาศาสตร์ เช่น การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
6.คณิตศาสตร์ เช่น การชั่ง วัด ตวง การคาดคะเน
7สร้างสรรค์ เช่น การทำงานศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นแป้งโด
ประสบการณ์สำคัญของเด็กประกอบไปด้วย
1.กิจกรรมการเคลื่อนไหว
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ( ด้านสติปัญญา ทักษะที่สำคัญ )
3.กิจกรรมกลางแจ้ง
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมเสรี
6.กิจกรรมเกมการศึกษา

บันทึกการเข้าครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 6 กันยายน 2554

..วันนี้ส่งงานการทำโครงการ
อาจารย์ให้ดูซีดีเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ: ความรู้ที่ได้วันนี้
น้ำ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย อากาศมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายเพราะเนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากดังนั้นเราควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน
สิ่งมีชีวิตต่า ๆ ในโลกมีส่วนประกอบของน้ำหรือไม่
วิธีการทดลอง
1.หาผลไม้พืชผักต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล แครอท
2.นำมีดมาหันผลไม้เป้นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้เครื่องบดให้ละเอียด
3.แล้วลองบีบดูจะเห็นว่าน้ำออกมาจากผลไม้
จะเห็นได้ว่า น้ำจะมีส่วนประกอบในสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70 % ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90 % ดังนั้นถ้าคนขาดน้ำจะทำให้รางกายอ่อนเพลีย
ฝนตกจะเกิดจากอะไร
คุณสมบัติของน้ำมี 3 ประการ คือ
1.ของแข็งคือ น้ำแข็ง
2.ของเหลวคือ น้ำที่เราดื่มและใช้อาบทุกวัน
3.ก๊าซคือ ไอน้ำ
น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ จากไอกลายเป็นของเหลว
วิธีการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
1.เริ่มแรกต้มน้ำแข็งให้เดือด น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นของเหลว
2.ต้มต่อไปจนมีไอขึ้นมา จากนั้นก็เอาจานใส่น้ำแข็งมาวางไว้บนน้ำที่เราต้มระยะห่างพอสมควร
จะเห็นได้ว่าการเกิดฝนมีลักษณะเหมือนกับการทดลอง ฝนก็คือไอน้ำที่เระเหยขึ้นไปบนอากาศ รวมตัวกันกลายเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนสู่พื้นดิน
แอ่งน้ำที่เกิดขึ้นหลังฝนตกแห้งได้อย่างไร
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน 2 แก้ว
2.แก้วที่ 1 เทลงใส่จาน
แก้วที่ 2 เทลงใส่จาน
3.นำไปตากแดดจะเห็นว่าน้ำในจานแห้งเกือบหมด แต่ในแก้วลดลงนิดเดียว
ดังนั้นแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อหลังฝนตกจะแห้งไปเมื่อโดนความร้อนของแสงแดด
ธรรมชาติของน้ำ
เมื่อนำกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัว 12 %
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำใส่ลงในแก้วไม่ต้องเต็ม เอากระดาษปิดไว้
2.เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นจะเห็นว่ากลายเป้นน้ำแข็งเต็มแก้วเพราะน้ำแข็งมีโมเลกุลน้อยกว่าน้ำหรือน้ำมีโมเลกุลหนาแน่นกว่าน้ำแข็ง
แรงดันของน้ำ
วิธีการทดลอง
1.เจาะรูที่ขวด 3 รูระดับไม่เท่ากันแล้วเอาเทปกาวแปะไว้
2.จากนั้นเอาน้ำใส่ให้เต็มขวด แล้วเปิดรูที่เจาะไว้ จะเห็นได้ว่าน้ำจากรูด้านล่างจะพุ่งแรงสุดเนื่องจากความกดดันของน้ำด้านบนกดลงมาจากการทดลอง น้ำที่อยู่ด้านล่างจะถูกกดดันจากน้ำด้านบน ถ้าเราอยู่ในน้ำที่ลึกมากความกดดันจะยิ่งมากขึ้น

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11


วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 25

.สำหรับยการเรียนการสอนในวันนี้วันอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมสนทนา อภิปราย ซักถาม
เกี่ยวกับการทำประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ หาได้ง่ายและอาจารย์ได้มอบหมายงาน
ให้กลับไปทำเป็นการบ้านคือ ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน ทำสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จาก
แกนกระดาษทิชชูและให้นักศึกษาจับกลุ่ม ๆละ 4-5คน เขียนเรื่องในการจัดการเรียนการสอน
แบบโครงการ ซึ่งงาทั้ง 2ชิ้นส่งในครั้งต่อไป
.ส่วนบรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้
นักศึกษาให้ความสนใจค่อยข้างมาก ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน ไม่ค่อยคุยกัน
นักศึกษษและอาจารย์มีความเป็นกันเอง

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554

สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงาน สิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ที่นำกลับไปแก้ไขและอาจารย์ก็ได้แนะนำข้อควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปใช้กับงานในชิ้นต่อไป
ส่วนบรรยากาศในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้ปล่อยก่อนเวลา ให้กลับไปศึกษาด้วยตนเอง เนื่อจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 19สิงหาคม 2554


สำหรับวันนี้ได้ศึกษาจากวิดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่องความลับของแสง
ความลับของแสง
"ฝนตกหนักมองอะไรข้างนอกไม่เห็น ไฟดับก็จะไม่มีแสงสว่างซึ่งแสงสว่างเกี่ยวข้องกับการมองเห็น ถ้ารอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างก็จะทำให้เรามองไม่เห็น"
แสงสว่างเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมาก 300,000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยเราในการมองเห็นได้
วิธีการทดลองการเดินทางของแสง
1.นำกล่องเจาะรูตรงกลาง นำตุ๊กตาใส่ลงในกล่องแล้วปิดฝา ถ้าเรามองไปเราก็จะไม่เห็นอะไรเลย
2.คราวนี้เอาฝากล่องออกเราก็จะมองเห็นตุ๊กตา
3.เจาะรูอีกรู เอาไฟฉายส่องเขาไปเราก็จะมองเห็นวัตถุ
-ที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆรอบๆตัวได้ คือ แสงลงมาส่องวัตถุแล้วแสงของวัตถุก็จะสะท้อนเข้ามาในตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุต่างๆได้
-แสงพุ่งเข้ามาหาเรา จะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นเส้นตรงและไม่มีทางเปลี่ยนทิศทางได้
คุณสมบัติของแสงมี 3 ประการคือ วัตถุที่แสงส่องผ่านได้และไม่ได้หรือเรียกว่า
1.วัตถุโปร่งแสง แสงทะลุผ่านวัตถุได้บางชนิดเท่านั้น เช่น กระจกมัวๆ
2.วัตถุโปร่งใส เช่น กระจกใส พลาสติกใส
3.วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงไว้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก แม้กระทั่งตัวเรา
ประโยชน์ของแสง
1.การเคลื่อนที่ของแสงสามารถทำให้เกิดกล้องฉายภาพ